วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

ภาคตะวันตก


ภาคตะวันตก 



  • ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก 
     ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้
     1. เขตเทือกเขา ได้แก่
           - เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก
           - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี
           - เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย
     2. เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว
        

  • แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก 
       - แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
       - แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย
       - แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่
       - แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน
       - แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
       - แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  • ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก 
       ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก
     1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น
     2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน
     3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
     4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง

  • ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก 

1. ทรัพยากรดิน 
               ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด 
2. ทรัพยากรน้ำ 
          ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี 
3. ทรัพยากรป่าไม้ 
           ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก 
     4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
              ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก



พืชที่ปลูกส่วนมากในภาคตะวันตก








  • สับปะรด : แหล่งปลูกสับปะรดในประเทศไทย (ภาคตะวันตก)



สับปะรดของภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกสำคัญของประเทศ ในสภาพดินร่วนหรือร่วนปนทราย ไม่มีน้ำท่วมขัง ปริมาณฝนกระจายสม่ำเสมอ ประมาณ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ดินมีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ และต้องเป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด สับปะรดมีปริมาณการผลิตและการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจึงมีการการขยายพื้นที่การปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงเพียงพอต่อความต้องการ แต่การขยายพื้นที่การผลิตโดยขาดการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานที่มีต้องการที่สม่ำเสมอ  แต่ผลผลิตได้มีกระจุกตัวอยู่ช่วงสั้นๆ ในช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย.และพ.ย. – ธ.ค. ทำให้เกินกำลังผลิตของโรงงาน ราคาผลผลิตจึงตกต่ำแต่ในช่วงอื่นผลผลิตกลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงาน การกระจุกตัวของผลผลิตเนื่องจากพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนจึงต้องปลูกในเดือน ม.ค. – เม.ย. เพื่อให้เจริญเติบโตในฤดูฝนพอถึงฤดูหนาวมีการเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อได้รับอากาศเย็นช่วงเดือน ธ.ค. – ม.ค. จึงออกดอก ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือน พ.ค. 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น