ภาคใต้
- ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่
2
ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน
จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2
เขต คือ
1. เขตเทือกเขา มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้
เช่น
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า
- เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย
- เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค
- เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า
- เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย
- เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค
- เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค
2. เขตที่ราบ ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ
ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว
- แม่น้ำที่สำคัญของภาค
- ลักษณะของชายฝั่งทะเลภาคใต้
- ชายฝั่งด้านตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นหาดทรายกว้าง เป็นฝั่งทะเลที่มีการยกตัวของพื้นที่ มีสันทรายจงอย มี ลากูน ที่เกิดจากสันดอนที่ปิดกั้นทะเลสาบสงขลาจากทะเลภายนอก มีอ่าวขนาดใหญ่ เช่น อ่าวบ้านดอน อ่าวชุมพร อ่าวสวี เป็นต้น
- ชายฝั่งด้านตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นฝั่งทะเลจมตัว มีชายหาดเว้าแหว่งและเป็นหาดน้ำลึกมีป่าชายเลนขึ้นตามชายฝั่ง
และมี ชวากทะเล คือ การยุบจมบริเวณปากแม่น้ำขนาดกว้าง อ่าวที่สำคัญของฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ อ่าวระนอง อ่าวพังงา อ่าวกระบี่ อ่าวกันตัง เป็นต้น
- ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้
ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิของภาคใต้
1. ลม เป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้มากที่สุด
เนื่องจากภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร ทำให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเต็มที่
2. การวางตัวของภูเขา
เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกทำให้ปะทะกับเทือกเขาตะนาวศรี
ทำให้มีฝนตกหนักโดยเฉพาะจังหวัดระนอง ส่วนด้านหลังเขาเป็นเขตอับฝนจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สาเหตุของการเกิดฝนตกชุกในภาคใต้
1. เกิดจากร่องลมมรสุมที่เคลื่อนจากทางเหนือเข้าสู่เส้นศูนย์สูตร
ทำให้ฝนตกชุก
2. เกิดจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยและทะเลจีนใต้
นำฝนมาตกทางทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้
3. เกิดจากพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวอยู่ในทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วม
- ทรัพยากรธรรมชาติของภาคใต้
1. ทรัพยากรดิน ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มต่ำ (พรุ) มีน้ำท่วมขังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำใช้ปลูกข้าว และสวนผลไม้
ส่วนดินบริเวณที่สูงเป็นดินเหนียวหรือดินลูกรัง
เหมาะในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน
2. ทรัพยากรน้ำ ภาคใต้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี
แต่มีปัญหาในการขาดแคลนน้ำเนื่องจากมีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้
ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากการขุดเจาะบ่อบาดาลและได้จากเขื่อนต่าง ๆ ได้แก่ เขื่อนคลองหลา
จังหวัดสงขลา เขื่อนปัตตานี จังหวัดปัตตานี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นป่าดิบชื้นตามเทือกเขา
และป่าชายเลน จังหวัดที่ป่าไม้มากสุดคือ สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นป่าแพะ ป่าโคก
ขึ้นปะปนกับทุ่งหญ้าสะวันนา ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ คือ
ไม้เบญจพรรณและไม้จากป่าชายเลน
4. ทรัพยากรแร่ธาตุภาคใต้มีแร่ธาตุหลายชนิด ดังนี้
- แร่ดีบุก พบมากที่สุดในภาคใต้และของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นแร่ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด
- แร่พลวงพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช
- แร่ทังสเตน พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทองคำ พบที่อำเภอโม๊ะโต๊ะ จังหวัดนราธิวาสและที่ชุมพร
- แร่ฟลูออไรด์ , ยิปซัม , ดินขาว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ถ่านหิน พบที่กระบี่และสุราษฎร์ธานี
- น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทย
- แร่ดีบุก พบมากที่สุดในภาคใต้และของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นแร่ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด
- แร่พลวงพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช
- แร่ทังสเตน พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทองคำ พบที่อำเภอโม๊ะโต๊ะ จังหวัดนราธิวาสและที่ชุมพร
- แร่ฟลูออไรด์ , ยิปซัม , ดินขาว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ถ่านหิน พบที่กระบี่และสุราษฎร์ธานี
- น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทย
ที่มา : https://sites.google.com/site/flukehoods/home/phumiprathes-phakh-ti
พืชที่ปลูกส่วนมากในภาคใต้
- ยางพารา : แหล่งปลูกยางพาราในประเทศไทย (ภาคใต้)
ปัจจัยทางดิน เป็นพื้นที่ที่ความลาดชันไม่เกิน 35 องศา
ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศาการปลูกต้องทำแบบขั้นบันได หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1
เมตร มีการระบายน้ำดี
ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดานระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย
ไม่เป็นดินเกลือหรือดินเค็ม ไม่เป็นพื้นที่นาหรือที่ลุ่มน้ำขัง สีของดินควรมีสีสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน
ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือแผ่นหินแข็งในระดับต่ำกว่าหน้าดินไม่ถึง 1 เมตร
เพราะจะทำให้ต้นยางไม่สามารถใช้น้ำในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้
และหากช่วงแล้งยาวนานจะทำให้ ต้นยางตายจากยอดลงไป ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน
600 เมตร ถ้าสูงกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของต้นยางจะลดลง มีค่า pH ระหว่าง 4.5-5.5
ไม่เป็นดินด่าง
ปัจจัยทางภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,255 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนวันฝนตก
120-150 วันต่อปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น