วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

ภาคตะวันออก


ภาคตะวันออก


  • ลักษณะภูมิประเทศ
                 ภาคตะวันออกได้ชื่อว่ามีทิวทัศน์และชายหาดสวยงามแห่งหนึ่งของประเทศ หาดทรายที่สวยงาม และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก คือ หาดพัทยา ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออก โดยทั่วไปจะแตกต่างจากภาคกลาง กล่าวคือ ประกอบด้วยเทือกเขาสูง ที่สูง เนินเขา และที่ราบซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูก
ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบ่งได้ดังนี้

เขตที่ราบลูกระนาด และภูเขา ได้แก่บริเวณที่อยู่ถัดจากแม่น้ำบางปะกง เข้าไปทางตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ภูเขาที่สำคัญได้แก่ เขาเขียว เขาละเมา เทือกเขาจันทบุรี และเทือกเขาบรรทัด
เขตที่ราบ ได้แก่ บริเวณที่ราบใหญ่ อยู่ทางตอนเหนือของภาค ต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มเจ้าพระยาของภาคกลาง
แม่น้ำ ที่สำคัญของภาคนี้ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำประแส และแม่น้ำเวฬุ ซึ่งไหลลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำในภาคตะวันออกส่วนมาก เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ซึ่งได้พัดพาเอาดินตะกอนมาทิ้งไว้ จนเกิดเป็นที่ราบแคบๆ ตามที่ลุ่ม
ลักษณะชายฝั่ง ภาคตะวันออกมีอาณาเขตส่วนหนึ่งติดต่อกับทะเล จึงทำให้มีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างไปจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
    • เกาะ
    • อ่าว
    • แหลม

  • ลักษณะภูมิอากาศ

ภาคตะวันออกมีชายฝั่งทะเล และมีเทือกเขาเป็นแนวยาว เปิดรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากอ่าวไทยอย่างเต็มที่ จึงทำให้ภาคนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นบางพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่รับลมด้านหน้าของเทือกเขา และชายฝั่งทะเล
อุณหภูมิของภาคตะวันออก จะมีค่าสม่ำเสมอตลอดทั้งปี และมีความชื้นค่อนข้างสูง จังหวัดจันทบุรี และตราดจะมีปริมาณฝนมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคนี้
ลักษณะภูมิประเทศกับพรมแดนระหว่างประเทศภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ในเขต 3 จังหวัดคือ จันทบุรี ตราด และสระแก้ว แนวพรมแดนด้านนี้มีสองลักษณะคือ พรมแดนตามธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่แหลมสารพัดพิษ ขึ้นไปทางเหนือตามสันปันน้ำ เทือกเขาบรรทัด จนเข้าเขตจังหวัดสระแก้ว เส้นพรมแดนจะผ่านเข้าไปในเขตพื้นที่ราบ ดังนั้นเส้นพรมแดนจึงเป็นเส้นสมมุติขึ้นในแผนที่ แล้วลากเส้นตรง เชื่อมจุดต่างๆ ต่อกัน เรียกเส้นพรมแดนนี้ว่า พรมแดนแบบเลขาคณิต จะอยู่ในเขตจังหวัดสระแก้ว มีความยาวประมาณ 64 กิโลเมตร



ที่มา :  http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2545/m5504/east.htm

ภาคตะวันตก


ภาคตะวันตก 



  • ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก 
     ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้
     1. เขตเทือกเขา ได้แก่
           - เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก
           - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี
           - เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย
     2. เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว
        

  • แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก 
       - แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
       - แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย
       - แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่
       - แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน
       - แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
       - แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  • ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก 
       ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก
     1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น
     2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน
     3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
     4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง

  • ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก 

1. ทรัพยากรดิน 
               ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด 
2. ทรัพยากรน้ำ 
          ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี 
3. ทรัพยากรป่าไม้ 
           ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก 
     4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
              ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก



พืชที่ปลูกส่วนมากในภาคตะวันตก








  • สับปะรด : แหล่งปลูกสับปะรดในประเทศไทย (ภาคตะวันตก)



สับปะรดของภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกสำคัญของประเทศ ในสภาพดินร่วนหรือร่วนปนทราย ไม่มีน้ำท่วมขัง ปริมาณฝนกระจายสม่ำเสมอ ประมาณ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ดินมีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ และต้องเป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด สับปะรดมีปริมาณการผลิตและการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจึงมีการการขยายพื้นที่การปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงเพียงพอต่อความต้องการ แต่การขยายพื้นที่การผลิตโดยขาดการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานที่มีต้องการที่สม่ำเสมอ  แต่ผลผลิตได้มีกระจุกตัวอยู่ช่วงสั้นๆ ในช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย.และพ.ย. – ธ.ค. ทำให้เกินกำลังผลิตของโรงงาน ราคาผลผลิตจึงตกต่ำแต่ในช่วงอื่นผลผลิตกลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงาน การกระจุกตัวของผลผลิตเนื่องจากพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนจึงต้องปลูกในเดือน ม.ค. – เม.ย. เพื่อให้เจริญเติบโตในฤดูฝนพอถึงฤดูหนาวมีการเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อได้รับอากาศเย็นช่วงเดือน ธ.ค. – ม.ค. จึงออกดอก ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือน พ.ค. 



ภาคใต้





ภาคใต้






  • ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ 

ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2 เขต คือ 
1. เขตเทือกเขา     มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เช่น
       - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า
       - เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย
       - เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค
       - เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค 
2. เขตที่ราบ      ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว

  • แม่น้ำที่สำคัญของภาค 
       แม่น้ำของภาคใต้เป็นสายสั้น ๆ เนื่องจากมีพื้นที่น้อย และไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำชุมพร แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี แม่น้ำสายบุรี ส่วนแม่น้ำโกลก เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ส่วนแม่น้ำปากจั่น กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า และแม่น้ำตรังไหลลงสู่ทะเลอันดามัน 

  • ลักษณะของชายฝั่งทะเลภาคใต้ 
       ภาคใต้มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 1,825 กิโลเมตร แบ่งเป็นชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาส ยาว 960 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกยาว 865 กิโลเมตร ซึ่งมีลักษณะดังนี้
         - ชายฝั่งด้านตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นหาดทรายกว้าง เป็นฝั่งทะเลที่มีการยกตัวของพื้นที่ มีสันทรายจงอย มี ลากูน ที่เกิดจากสันดอนที่ปิดกั้นทะเลสาบสงขลาจากทะเลภายนอก มีอ่าวขนาดใหญ่ เช่น อ่าวบ้านดอน อ่าวชุมพร อ่าวสวี เป็นต้น
        - ชายฝั่งด้านตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นฝั่งทะเลจมตัว มีชายหาดเว้าแหว่งและเป็นหาดน้ำลึกมีป่าชายเลนขึ้นตามชายฝั่ง
และมี ชวากทะเล คือ การยุบจมบริเวณปากแม่น้ำขนาดกว้าง อ่าวที่สำคัญของฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ อ่าวระนอง อ่าวพังงา อ่าวกระบี่ อ่าวกันตัง เป็นต้น


  • ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้ 
        ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้น ๆ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี จังหวัดที่มีฝนตกชุกที่สุดคือ ระนอง และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยคือ สุราษฎร์ธานี
ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิของภาคใต้ 
1. ลม เป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้มากที่สุด เนื่องจากภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร ทำให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเต็มที่ 
2. การวางตัวของภูเขา 
เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกทำให้ปะทะกับเทือกเขาตะนาวศรี ทำให้มีฝนตกหนักโดยเฉพาะจังหวัดระนอง ส่วนด้านหลังเขาเป็นเขตอับฝนจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
สาเหตุของการเกิดฝนตกชุกในภาคใต้ 
1. เกิดจากร่องลมมรสุมที่เคลื่อนจากทางเหนือเข้าสู่เส้นศูนย์สูตร ทำให้ฝนตกชุก 
2. เกิดจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ นำฝนมาตกทางทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ 
3. เกิดจากพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวอยู่ในทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วม 

  • ทรัพยากรธรรมชาติของภาคใต้ 

1. ทรัพยากรดิน ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มต่ำ (พรุ) มีน้ำท่วมขังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำใช้ปลูกข้าว และสวนผลไม้ ส่วนดินบริเวณที่สูงเป็นดินเหนียวหรือดินลูกรัง เหมาะในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน 
2. ทรัพยากรน้ำ ภาคใต้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี แต่มีปัญหาในการขาดแคลนน้ำเนื่องจากมีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากการขุดเจาะบ่อบาดาลและได้จากเขื่อนต่าง ๆ ได้แก่ เขื่อนคลองหลา จังหวัดสงขลา เขื่อนปัตตานี จังหวัดปัตตานี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
3. ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นป่าดิบชื้นตามเทือกเขา และป่าชายเลน จังหวัดที่ป่าไม้มากสุดคือ สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นป่าแพะ ป่าโคก ขึ้นปะปนกับทุ่งหญ้าสะวันนา ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ คือ ไม้เบญจพรรณและไม้จากป่าชายเลน 
4. ทรัพยากรแร่ธาตุภาคใต้มีแร่ธาตุหลายชนิด ดังนี้
     - แร่ดีบุก พบมากที่สุดในภาคใต้และของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นแร่ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด
     - แร่พลวงพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช
     - แร่ทังสเตน พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
     - ทองคำ พบที่อำเภอโม๊ะโต๊ะ จังหวัดนราธิวาสและที่ชุมพร
     - แร่ฟลูออไรด์ , ยิปซัม , ดินขาว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     - ถ่านหิน พบที่กระบี่และสุราษฎร์ธานี
     - น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทย     


ที่มา : https://sites.google.com/site/flukehoods/home/phumiprathes-phakh-ti



พืชที่ปลูกส่วนมากในภาคใต้


  • ยางพารา : แหล่งปลูกยางพาราในประเทศไทย (ภาคใต้)

ปัจจัยทางดิน เป็นพื้นที่ที่ความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศาการปลูกต้องทำแบบขั้นบันได หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดานระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ไม่เป็นดินเกลือหรือดินเค็ม ไม่เป็นพื้นที่นาหรือที่ลุ่มน้ำขัง สีของดินควรมีสีสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือแผ่นหินแข็งในระดับต่ำกว่าหน้าดินไม่ถึง 1 เมตร เพราะจะทำให้ต้นยางไม่สามารถใช้น้ำในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้ และหากช่วงแล้งยาวนานจะทำให้ ต้นยางตายจากยอดลงไป ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร ถ้าสูงกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของต้นยางจะลดลง มีค่า pH ระหว่าง 4.5-5.5 ไม่เป็นดินด่าง 
ปัจจัยทางภูมิอากาศ  ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,255 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนวันฝนตก 120-150 วันต่อปี











ภาคกลาง




ภาคกลาง





  •  ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง 

เขตที่ราบ 
- เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)
- เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา 
- เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป 
แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง 
1. แม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ และมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี) แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) 
2. แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
3. แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี 
คลองที่สำคัญในภาคกลาง 
1. คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก 
2. คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี 
3. คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลองบางกอกน้อย 
4. คลองแสนแสบ,คลองพระโขนง และคลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง 
5. คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

***ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ บึงบอระเพ็ดอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์และบึงสีไพจังหวัดพิจิตร

  • ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลาง

ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน 

  • ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง 

1. ทรัพยากรดิน 
           กลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วง      ฤดูแล้ง ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน ดินเหนียวลพบุรี ดินเหนียวองครักษ์ ดินร่วนกำแพงแสน และดินเหนียวดำกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามารวมกันเป็นที่ราบขนาดใหญ่ของภาคกลาง 
ส่วนดินบริเวณที่ราบเนินภูเขาจะ เกิดจากการสลายตัวของหินปูนและหินอัคนี เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ขนุน เป็นต้น 
2. ทรัพยากรน้ำ 
         ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และมีการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี 
3. ทรัพยากรป่าไม้ 
         ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ 
          ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซัม หินอ่อน ดินมาร์ล หินปูน แร่เชื่อเพลิง พบ**น้ำมันดิบที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร


          ที่มา : https://sites.google.com/site/geographyfunny/1-1




พืชที่ปลูกส่วนมากในภาคกลาง





  • อ้อย : แหล่งปลูกอ้อยในประเทศไทย (ภาคกลาง)

              ภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม เพชรบุรี อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี ผลิตอ้อยได้รวมกันคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑๖ ของทั้งประเทศ อ้อยเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน เช่น สภาพน้ำท่วม หรือแห้งแล้ง เป็นต้น การปลูกอ้อยเพียงเพื่อให้ขึ้นนั้น ทำได้ไม่ยากนัก แต่การปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และคุณภาพดีด้วยทำได้ค่อนข้างยาก ผู้ปลูกจะต้องมีทั้งความรู้ และเงินทุนอย่างพอเพียง ต้องเป็นที่น้ำไม่ท่วมตลอดทุกฤดูกาล น้ำท่วมระยะสั้นอาจทำให้การเจริญเติบโตลดลง เป็นผลให้ผลผลิตลดลงด้วย ถ้าน้ำท่วมเป็นเวลานาน อ้อยอาจตาย นอกจากนี้ต้องไม่เป็นที่ลาดชันเกินไป เพราะนอกจากจะไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องมือแล้ว ยังทำให้ดินพังทลายเมื่อมีฝนตกมากอีกด้วย












ภาคเหนือ





ภาคเหนือ





  •      ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ 

   1. เขตทิวเขา ประกอบด้วย 
      - ทิวเขาแดนลาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า 
      - ทิวเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า มียอดเขาที่สูงสุดของประเทศไทยคือ                         ดอยอินทนนท์ สูง 2,565 เมตร
      - ทิวเขาผีปันน้ำ ประกอบด้วยทิวเขาจอมทอง ขุนตาล ที่ปันน้ำลง 2 ทาง คือ แม่น้ำโขงและแม่น้ำ           
        เจ้าพระยา โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ 
      - ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับลาว
2. เขตที่ราบหุบเขา มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาและหุบเขา มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินอุดมสมบูรณ์ 
3. เขตแอ่งที่ราบ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญของชุมชนทางภาคเหนือ 
แม่น้ำสำคัญของภาคเหนือ
     1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำรวก แม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง
     2. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระ
ยา ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน
     3. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม แม่น้ำปาย
  •    ลักษณะภูมิอากาศของภาคเหนือ 

ภูมิอากาศของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแบบสะวันนา (Aw) คือ อากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง
อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีอยู่ระหว่าง 24 -27 องศาเซลเซียส มีฤดู 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (พ.ค.- ต.ค.) ฤดูหนาว (ต.ค. - ก.พ.)ฤดูร้อน (ก.พ. - พ.ค.) จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ เชียงราย จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุตรดิตถ์ จังหวัดที่มีสถิติฝนตกหนักคือ เชียงราย และมีสถิติฝนตกน้อยที่สุดคือ ลำปาง ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิในภาคเหนือ
         1. ละติจูด ตั้งอยู่ในละติจูดสูง สภาพอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น 
         2. ความสูงของพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีเทือกเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นมากโดยเฉพาะในฤดูหนาว 
         3. ระยะไกลจากทะเล ตั้งอยู่ไกลจากทะเล ทำให้ร้อนอบอ้าวและมีฝนตกน้อยในฤดูร้อน
         4. ทิศทางลมประจำ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกมาก และรับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนทำให้มีอากาศหนาวเย็น

  • ทรัพยากรธรรมชาติในภาคเหนือ 

     1. ทรัพยากรดิน จะมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง มีความลาดชันมากและมีการตัดไม้ทำลายป่า จึงก่อให้เกิดการชะล้างและพังทลายหน้าดินได้ง่าย ดินที่พบตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ คือ ดินอัลลูเวียนเหมาะในการทำนา และดินลานตะพักลำน้ำ เหมาะในการปลูกพืชไร่ 
     2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำในภาคเหนือเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ประกอบด้วยหลายสาย
และมีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ กว๊านพะเยา และมีการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดเล็กจำนวนมากและใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
     3. ทรัพยากรป่าไม้ ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ป่าสนเขาและป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้มากที่สุดคือ เชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้น้อยที่สุดคือ ลำพูน 
      4. ทรัพยากรแร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญของภาคเหนือมีหลายชนิด เนื่องจากโครงสร้างของหินเป็นหินยุคเก่า 
แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ 
- แร่ดีบุก พบมากที่จังหวัดเชียงใหม่ 
- แร่ทังสเตนหรือวุลแฟรม พบมากที่จังหวัดเชียงราย
- แร่แมงกานีส พบมากที่จังหวัดลำพูน เชียงราย เชียงใหม่
- แร่ฟลูออไรต์ พบมากที่ลำพูน 
- ดินขาว พบมากที่จังหวัดลำปาง 
- แร่รัตนชาติ พบมากที่จังหวัดแพร่ 
- ปิโตรเลียม พบมากที่เชียงใหม่ 
- หินน้ำมัน พบมากที่ลำพูน 
- ถ่านหิน พบมากที่ลำปาง ลำพูน

ที่มา : https://sites.google.com/site/flukehoods/home/phumiprathes-phakh-henux



พืชไร่ที่ปลูกส่วนมากในภาคเหนือ












  • ข้าวโพด : แหล่งปลูกข้าวโพดในประเทศไทย (ภาคเหนือ)

ข้าวโพดสามารถปลูกได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก ตั้งแต่ละติจูดที่ 58 องศา ในประเทศแคนนาดา ผ่านเขตโซนร้อนลงมาจนถึงเขตตอนใต้ประมาณละติจูดที่ 35-40 องศา ข้าวโพดสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนพื้นที่ ซึ่งมีระดับเดียวกับน้ำทะเลไปจนถึงพื้นที่ระดับสูงกว่าน้ำทะเล 3,000-3,900 เมตรในประเทศเปรูและเม็กซิโก
          แหล่งผลิตข้าวโพดที่สำคัญคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปลูกและผลิตข้าวโพดได้มากที่สุดของโลก รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บราซิล สหภาพยุโรป อาร์เจนติน่า เม็กซิโก ยูเครน อินเดีย แอฟริกาใต้ และแคนาดา
           สำหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ข้าวโพดสามารถปลูกได้ดีทุกภาค จังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกข้าวโพดมาก ตามลำดับในแต่ละภูมิภาคสามารถเรียงลำดับตามปริมาณการผลิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 
ภาคเหนือ ปลูกมากที่  น่าน ตาก เชียงราย พะเยา และเชียงใหม่