ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ในระดับความสูงระหว่าง 120-400 เมตรจากระดับน้ำทะเลลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งจานลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีสันเขาเป็นขอบสูงทางทิศตะวันตกโดยเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็น ทิศใต้ขอบสูงโดยเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรักแล้วลาดลงสู่แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก
ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ ทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรักพื้นที่ทางด้านตะวันตกเป็นที่ราบสูงเรียกว่าที่ราบสูงโคราชและมีทิวเขาที่พาดผ่านที่สำคัญคือทิวเขาภูพาน
1.ภูเขา
1.1 ภูเขารูปโต๊ะเป็นภูเขายอดราบ เป็นลักษณะเฉพาะของภูเขาโดดที่เกิดจากหินชั้นประกอบด้วยหินชั้นหลายชนิดที่มีความคงทนต่อการกัดเซาะผุพังไม่เท่ากัน
เรียงตัวซ้อนกันในแนวราบ การสึกกร่อนของหินทำให้ไหล่เขาชันขึ้นไปตามความสูง แต่ยอดเขาจะมีลักษณะแนวราบคล้ายโต๊ะส่วนมากเป็นภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ภูกระดึง ภูหลวงและภูเวียง
1.2 ภูเขารูปอีโต้ มีลักษณะภูเขาสูงชัน สันด้านหนึ่งลาดเอียงและยาว
โดยมีขอบผาชันมากทางทิศใต้และค่อยๆ ลาดเอียงลงไปทางด้านทิศเหนือซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมีพลาญหินซึ่งประกอบด้วยหินทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
2.พื้นที่ดอน
ภูมิประเทศที่ต่อจากภูเขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นโคก
โนน
เนินครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ภูมิประเทศเหล่านี้มีความต่างระดับและมีความลาดชันไม่มาก ดั้งเดิมจะปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ปัจจุบันใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก ทำไร่ ทำสวน ทำนาดอน เลี้ยงสัตว์ และตั้งบ้านเรือน
เนินครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ภูมิประเทศเหล่านี้มีความต่างระดับและมีความลาดชันไม่มาก ดั้งเดิมจะปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ปัจจุบันใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก ทำไร่ ทำสวน ทำนาดอน เลี้ยงสัตว์ และตั้งบ้านเรือน
3.พื้นที่ราบ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ราบขนาดเล็กแทรกสลับอยู่ระหว่างโคกโนนส่วนที่ราบขนาดใหญ่จะเป็นที่ราบแม่น้ำสำคัญ
4.พื้นที่ราบลุ่ม
มีความสัมพันธ์กับลำน้ำขนาดใหญ่ทั้ง
2 ฝั่ง
โดยเฉพาะบริเวณคุ้งน้ำหรือที่คดเคี้ยวของร่องน้ำจะมีบึงหรือกุด ซึ่งใช้ประโยชน์ในการหาปลาและเป็นแหล่งน้ำใช้ในครัวเรือน
แม่น้ำ
1. แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสานตอนล่าง ต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกำแพง
แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี
2. แม่น้ำชี มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตร ***เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย **มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์
และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี
- ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา
(Aw) คือ มีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง
มีฝนตกปานกลาง
- ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่จังหวัดเลย
- ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจากพายุดีเปรสชัน
จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือ นครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ
นครราชสีมา
- ฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก
เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่ มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุดรธานี
- ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร
ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช
และทำนา
2. ทรัพยากรน้ำ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้
จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ
จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ
ที่มา : https://sites.google.com/site/kruiizezii/social-studies/local-northeast/topography
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ภาคตะวันออก)
แหล่งปลูกส่วนมากจะอยู่ทางภาคอีสานและภาคตะวันออก
การปลูกต้องเลือกสภาพพื้นที่และภูมิประเทศ ดินมีความเหมาะสมไม่แห้งแล้งมากเกินไป มันสำปะหลังเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดี
ในที่อุณหภูมิสูง ดังนั้นประเทศที่ผลิตมาก
จึงเป็นประเทศที่อยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๒๐ องศาเหนือและใต้
ประเทศที่ปลูกมากได้แก่ บราซิล อินโดนีเซีย ไนจีเรีย แซร์ ไทย และอินเดีย
สำหรับประเทศไทยผลิตมันสำปะหลังได้มากเป็นอันดับ ๕ ของโลก คือ ผลิตได้ประมาณ ๗
เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ประเทศไทยมีการปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศ
แต่ที่ปลูกเป็นการค้าจำนวนมาก เพื่อส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ได้แก่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ดังแสดงในตาราง
ภาค
|
เนื้อที่เพาะปลูก
(ไร่) |
ผลผลิต
(ตัน) |
ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
(กิโลกรัม) |
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ตะวันออก ตะวันตก เหนือ กลาง |
๒,๑๑๖,๙๗๙
๑,๘๘๔,๕๖๓ ๒๐๒,๑๗๐ ๑๐๔,๘๙๗ ๖๔,๗๖๕ |
๔,๘๒๑,๖๐๓
๔,๔๑๙,๘๒๒ ๔๔๑,๖๔๗ ๒๗๒,๑๑๙ ๑๓๒,๕๓๗ |
๒,๒๗๘
๒,๓๔๕ ๒,๔๒๓ ๒,๕๙๔ ๒,๐๔๖ |
รวมทั้งประเทศ
|
๔,๓๗๓,๓๗๔
|
๑๐,๑๓๗,๘๒๘
|
๒,๓๑๘
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น