วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

ภาคกลาง




ภาคกลาง





  •  ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง 

เขตที่ราบ 
- เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)
- เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา 
- เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป 
แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง 
1. แม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ และมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี) แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) 
2. แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
3. แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี 
คลองที่สำคัญในภาคกลาง 
1. คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก 
2. คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี 
3. คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลองบางกอกน้อย 
4. คลองแสนแสบ,คลองพระโขนง และคลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง 
5. คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

***ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ บึงบอระเพ็ดอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์และบึงสีไพจังหวัดพิจิตร

  • ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลาง

ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน 

  • ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง 

1. ทรัพยากรดิน 
           กลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วง      ฤดูแล้ง ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน ดินเหนียวลพบุรี ดินเหนียวองครักษ์ ดินร่วนกำแพงแสน และดินเหนียวดำกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามารวมกันเป็นที่ราบขนาดใหญ่ของภาคกลาง 
ส่วนดินบริเวณที่ราบเนินภูเขาจะ เกิดจากการสลายตัวของหินปูนและหินอัคนี เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ขนุน เป็นต้น 
2. ทรัพยากรน้ำ 
         ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และมีการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี 
3. ทรัพยากรป่าไม้ 
         ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ 
          ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซัม หินอ่อน ดินมาร์ล หินปูน แร่เชื่อเพลิง พบ**น้ำมันดิบที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร


          ที่มา : https://sites.google.com/site/geographyfunny/1-1




พืชที่ปลูกส่วนมากในภาคกลาง





  • อ้อย : แหล่งปลูกอ้อยในประเทศไทย (ภาคกลาง)

              ภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม เพชรบุรี อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี ผลิตอ้อยได้รวมกันคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑๖ ของทั้งประเทศ อ้อยเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน เช่น สภาพน้ำท่วม หรือแห้งแล้ง เป็นต้น การปลูกอ้อยเพียงเพื่อให้ขึ้นนั้น ทำได้ไม่ยากนัก แต่การปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และคุณภาพดีด้วยทำได้ค่อนข้างยาก ผู้ปลูกจะต้องมีทั้งความรู้ และเงินทุนอย่างพอเพียง ต้องเป็นที่น้ำไม่ท่วมตลอดทุกฤดูกาล น้ำท่วมระยะสั้นอาจทำให้การเจริญเติบโตลดลง เป็นผลให้ผลผลิตลดลงด้วย ถ้าน้ำท่วมเป็นเวลานาน อ้อยอาจตาย นอกจากนี้ต้องไม่เป็นที่ลาดชันเกินไป เพราะนอกจากจะไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องมือแล้ว ยังทำให้ดินพังทลายเมื่อมีฝนตกมากอีกด้วย












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น