ภาคเหนือ
- ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ
1.
เขตทิวเขา ประกอบด้วย
-
ทิวเขาแดนลาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า
-
ทิวเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า
มียอดเขาที่สูงสุดของประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูง 2,565
เมตร
-
ทิวเขาผีปันน้ำ ประกอบด้วยทิวเขาจอมทอง ขุนตาล ที่ปันน้ำลง 2
ทาง คือ แม่น้ำโขงและแม่น้ำ
เจ้าพระยา โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้
-
ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับลาว
2.
เขตที่ราบหุบเขา มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ
อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาและหุบเขา มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินอุดมสมบูรณ์
3.
เขตแอ่งที่ราบ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญของชุมชนทางภาคเหนือ
แม่น้ำสำคัญของภาคเหนือ
1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำรวก แม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง
2. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระ
1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำรวก แม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง
2. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระ
ยา
ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน
3. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม แม่น้ำปาย
3. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม แม่น้ำปาย
- ลักษณะภูมิอากาศของภาคเหนือ
ภูมิอากาศของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแบบสะวันนา
(Aw)
คือ อากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง
อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีอยู่ระหว่าง 24 -27 องศาเซลเซียส มีฤดู 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (พ.ค.- ต.ค.) ฤดูหนาว (ต.ค. - ก.พ.)ฤดูร้อน (ก.พ. - พ.ค.) จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ เชียงราย จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุตรดิตถ์ จังหวัดที่มีสถิติฝนตกหนักคือ เชียงราย และมีสถิติฝนตกน้อยที่สุดคือ ลำปาง ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิในภาคเหนือ
1. ละติจูด ตั้งอยู่ในละติจูดสูง สภาพอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น
อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีอยู่ระหว่าง 24 -27 องศาเซลเซียส มีฤดู 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (พ.ค.- ต.ค.) ฤดูหนาว (ต.ค. - ก.พ.)ฤดูร้อน (ก.พ. - พ.ค.) จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ เชียงราย จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุตรดิตถ์ จังหวัดที่มีสถิติฝนตกหนักคือ เชียงราย และมีสถิติฝนตกน้อยที่สุดคือ ลำปาง ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิในภาคเหนือ
1. ละติจูด ตั้งอยู่ในละติจูดสูง สภาพอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น
2. ความสูงของพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีเทือกเขาสูง
มีอากาศหนาวเย็นมากโดยเฉพาะในฤดูหนาว
3. ระยะไกลจากทะเล
ตั้งอยู่ไกลจากทะเล ทำให้ร้อนอบอ้าวและมีฝนตกน้อยในฤดูร้อน
4. ทิศทางลมประจำ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกมาก และรับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนทำให้มีอากาศหนาวเย็น
4. ทิศทางลมประจำ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกมาก และรับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนทำให้มีอากาศหนาวเย็น
- ทรัพยากรธรรมชาติในภาคเหนือ
1. ทรัพยากรดิน จะมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง มีความลาดชันมากและมีการตัดไม้ทำลายป่า
จึงก่อให้เกิดการชะล้างและพังทลายหน้าดินได้ง่าย ดินที่พบตามลุ่มแม่น้ำต่าง
ๆ คือ ดินอัลลูเวียนเหมาะในการทำนา และดินลานตะพักลำน้ำ เหมาะในการปลูกพืชไร่
2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำในภาคเหนือเป็นแม่น้ำสายสั้น
ๆ ประกอบด้วยหลายสาย
และมีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ กว๊านพะเยา และมีการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดเล็กจำนวนมากและใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
และมีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ กว๊านพะเยา และมีการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดเล็กจำนวนมากและใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
3. ทรัพยากรป่าไม้ ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุด
ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ป่าสนเขาและป่าเบญจพรรณ
จังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้มากที่สุดคือ เชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้น้อยที่สุดคือ
ลำพูน
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุที่สำคัญของภาคเหนือมีหลายชนิด เนื่องจากโครงสร้างของหินเป็นหินยุคเก่า
แร่ธาตุที่สำคัญ
ได้แก่
-
แร่ดีบุก พบมากที่จังหวัดเชียงใหม่
-
แร่ทังสเตนหรือวุลแฟรม พบมากที่จังหวัดเชียงราย
-
แร่แมงกานีส พบมากที่จังหวัดลำพูน เชียงราย เชียงใหม่
-
แร่ฟลูออไรต์ พบมากที่ลำพูน
-
ดินขาว พบมากที่จังหวัดลำปาง
-
แร่รัตนชาติ พบมากที่จังหวัดแพร่
-
ปิโตรเลียม พบมากที่เชียงใหม่
-
หินน้ำมัน พบมากที่ลำพูน
-
ถ่านหิน พบมากที่ลำปาง ลำพูน
ที่มา : https://sites.google.com/site/flukehoods/home/phumiprathes-phakh-henux
พืชไร่ที่ปลูกส่วนมากในภาคเหนือ
- ข้าวโพด : แหล่งปลูกข้าวโพดในประเทศไทย (ภาคเหนือ)
ข้าวโพดสามารถปลูกได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก
ตั้งแต่ละติจูดที่ 58 องศา
ในประเทศแคนนาดา ผ่านเขตโซนร้อนลงมาจนถึงเขตตอนใต้ประมาณละติจูดที่ 35-40 องศา ข้าวโพดสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนพื้นที่
ซึ่งมีระดับเดียวกับน้ำทะเลไปจนถึงพื้นที่ระดับสูงกว่าน้ำทะเล 3,000-3,900 เมตรในประเทศเปรูและเม็กซิโก
แหล่งผลิตข้าวโพดที่สำคัญคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปลูกและผลิตข้าวโพดได้มากที่สุดของโลก รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บราซิล สหภาพยุโรป อาร์เจนติน่า เม็กซิโก ยูเครน อินเดีย แอฟริกาใต้ และแคนาดา
สำหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ข้าวโพดสามารถปลูกได้ดีทุกภาค จังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกข้าวโพดมาก ตามลำดับในแต่ละภูมิภาคสามารถเรียงลำดับตามปริมาณการผลิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
แหล่งผลิตข้าวโพดที่สำคัญคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปลูกและผลิตข้าวโพดได้มากที่สุดของโลก รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บราซิล สหภาพยุโรป อาร์เจนติน่า เม็กซิโก ยูเครน อินเดีย แอฟริกาใต้ และแคนาดา
สำหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ข้าวโพดสามารถปลูกได้ดีทุกภาค จังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกข้าวโพดมาก ตามลำดับในแต่ละภูมิภาคสามารถเรียงลำดับตามปริมาณการผลิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
ภาคเหนือ ปลูกมากที่ น่าน ตาก เชียงราย พะเยา
และเชียงใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น