ภาคเหนือ
- ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ
1.
เขตทิวเขา ประกอบด้วย
-
ทิวเขาแดนลาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า
-
ทิวเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า
มียอดเขาที่สูงสุดของประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูง 2,565
เมตร
-
ทิวเขาผีปันน้ำ ประกอบด้วยทิวเขาจอมทอง ขุนตาล ที่ปันน้ำลง 2
ทาง คือ แม่น้ำโขงและแม่น้ำ
เจ้าพระยา โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้
-
ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับลาว
2.
เขตที่ราบหุบเขา มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ
อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาและหุบเขา มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินอุดมสมบูรณ์
3.
เขตแอ่งที่ราบ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญของชุมชนทางภาคเหนือ
แม่น้ำสำคัญของภาคเหนือ
1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง
ได้แก่ แม่น้ำรวก แม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง
2. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระ
ยา
ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน
3. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน
ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม แม่น้ำปาย
- ลักษณะภูมิอากาศของภาคเหนือ
ภูมิอากาศของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแบบสะวันนา
(Aw)
คือ อากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง
อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีอยู่ระหว่าง 24 -27 องศาเซลเซียส
มีฤดู 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (พ.ค.- ต.ค.) ฤดูหนาว (ต.ค. -
ก.พ.)ฤดูร้อน (ก.พ. - พ.ค.) จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ เชียงราย
จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุตรดิตถ์ จังหวัดที่มีสถิติฝนตกหนักคือ
เชียงราย และมีสถิติฝนตกน้อยที่สุดคือ ลำปาง ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิในภาคเหนือ
1. ละติจูด
ตั้งอยู่ในละติจูดสูง สภาพอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น
2. ความสูงของพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีเทือกเขาสูง
มีอากาศหนาวเย็นมากโดยเฉพาะในฤดูหนาว
3. ระยะไกลจากทะเล
ตั้งอยู่ไกลจากทะเล ทำให้ร้อนอบอ้าวและมีฝนตกน้อยในฤดูร้อน
4. ทิศทางลมประจำ
ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกมาก
และรับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนทำให้มีอากาศหนาวเย็น
- ทรัพยากรธรรมชาติในภาคเหนือ
1. ทรัพยากรดิน จะมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง มีความลาดชันมากและมีการตัดไม้ทำลายป่า
จึงก่อให้เกิดการชะล้างและพังทลายหน้าดินได้ง่าย ดินที่พบตามลุ่มแม่น้ำต่าง
ๆ คือ ดินอัลลูเวียนเหมาะในการทำนา และดินลานตะพักลำน้ำ เหมาะในการปลูกพืชไร่
2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำในภาคเหนือเป็นแม่น้ำสายสั้น
ๆ ประกอบด้วยหลายสาย
และมีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ กว๊านพะเยา
และมีการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดเล็กจำนวนมากและใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
3. ทรัพยากรป่าไม้ ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุด
ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ป่าสนเขาและป่าเบญจพรรณ
จังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้มากที่สุดคือ เชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้น้อยที่สุดคือ
ลำพูน
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุที่สำคัญของภาคเหนือมีหลายชนิด เนื่องจากโครงสร้างของหินเป็นหินยุคเก่า
แร่ธาตุที่สำคัญ
ได้แก่
-
แร่ดีบุก พบมากที่จังหวัดเชียงใหม่
-
แร่ทังสเตนหรือวุลแฟรม พบมากที่จังหวัดเชียงราย
-
แร่แมงกานีส พบมากที่จังหวัดลำพูน เชียงราย เชียงใหม่
-
แร่ฟลูออไรต์ พบมากที่ลำพูน
-
ดินขาว พบมากที่จังหวัดลำปาง
-
แร่รัตนชาติ พบมากที่จังหวัดแพร่
-
ปิโตรเลียม พบมากที่เชียงใหม่
-
หินน้ำมัน พบมากที่ลำพูน
-
ถ่านหิน พบมากที่ลำปาง ลำพูน
ที่มา : https://sites.google.com/site/flukehoods/home/phumiprathes-phakh-henux
พืชไร่ที่ปลูกส่วนมากในภาคเหนือ
- ข้าวโพด : แหล่งปลูกข้าวโพดในประเทศไทย
(ภาคเหนือ)
ข้าวโพดสามารถปลูกได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก
ตั้งแต่ละติจูดที่ 58 องศา
ในประเทศแคนนาดา ผ่านเขตโซนร้อนลงมาจนถึงเขตตอนใต้ประมาณละติจูดที่ 35-40 องศา ข้าวโพดสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนพื้นที่
ซึ่งมีระดับเดียวกับน้ำทะเลไปจนถึงพื้นที่ระดับสูงกว่าน้ำทะเล 3,000-3,900 เมตรในประเทศเปรูและเม็กซิโก
แหล่งผลิตข้าวโพดที่สำคัญคือ
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปลูกและผลิตข้าวโพดได้มากที่สุดของโลก รองลงมาคือ
สาธารณรัฐประชาชนจีน บราซิล สหภาพยุโรป อาร์เจนติน่า เม็กซิโก ยูเครน อินเดีย
แอฟริกาใต้ และแคนาดา
สำหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า
ข้าวโพดสามารถปลูกได้ดีทุกภาค จังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกข้าวโพดมาก
ตามลำดับในแต่ละภูมิภาคสามารถเรียงลำดับตามปริมาณการผลิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
ภาคเหนือ ปลูกมากที่ น่าน ตาก เชียงราย พะเยา
และเชียงใหม่